นอกชานหน้าบ้านไม้ อบอุ่นและน่าอยู่อาศัย

Anuwat Anuwat
Taras drewniany w Cigacicach wykonany z drewna Bangkirai., PHU Bortnowski PHU Bortnowski
Loading admin actions …

นอกจากการพักผ่อนภายในบ้าน ผู้อยู่อาศัยในปัจจุบันมุ่งสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกบริเวณโดยรอบของบ้านเพิ่มมากขึ้น อาทิ สระว่ายน้ำ สวนไม้ ศาลาพักผ่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมนอกชานหน้าบ้านเพราะปลูกสร้างได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก ที่สำคัญสามารถปรับใช้สำหรับการอยู่อาศัยในมิติต่างๆอย่างหลากหลาย

มุมนอกชานหน้าบ้านนั้นส่วนใหญ่ใช้โครงสร้างจากไม้เป็นหลัก เพราะวัสดุดังกล่าวแข็งแรง ทนทาน และสวยงาม การต่อยื่นมุมดังกล่าวออกมาจากตัวบ้านนั้นสามารถตกแต่งหรือนำเอาเฟอร์นิเจอร์ต่างๆมาประดับสร้างมุมนั่งเล่นกลางแจ้ง มุมรับรองหรือแม้กระทั่งมุมสังสรรค์สำหรับเทศกาลต่างๆ ไม่เพียงเท่านั้นนอกชานหน้าบ้านยังเป็นจุดชมวิวและทัศนียภาพโดยรอบของบ้านได้อย่างเพลิดเพลิน ยิ่งไปกว่านั้นมุมนอกชานหน้าบ้านสามารถจัดระเบียบบ้านให้เป็นระเบียบ ปกปิดร่องรอยโครงสร้างบ้านที่เด่นชัดและไม่สวยงาม อาทิ เสา คาน และนัยยะสำคัญช่วยยกระดับบ้านให้สวยงามอย่างมีสไตล์

และในวันนี้ Homify ไม่ขอพลาดที่จะนำพาทุกท่านไปชมกับตัวอย่างการปลูกสร้างนอกชานหน้าบ้านอย่างละเอียด เพื่อเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจที่สำคัญสำหรับทุกคนในการนำไปปรับใช้

​รูปแบบและของตกแต่งมุมนอกชานหน้าบ้าน

มุมพักผ่อนภายนอกสำหรับบ้านหลังนี้คือการต่อเติมนอกชานหน้าบ้าน โดยการออกแบบมุ่งสร้างให้เกิดความเรียบง่าย บริเวณทางขึ้นทำเป็นขั้นบันได บริบทภายในนำเอาเฟอร์นิเจอร์มาจัดวางสร้างเป็นมุมนั่งเล่น ขณะเดียวกันมีการเว้นช่องว่างสำหรับวางกระถางต้นไม้เสริมให้มุมดังกล่าวสวยงามด้วยสีสันจากธรรมชาติ ด้านภาพรวมการต่อยื่นกว้างออกมาจากตัวบ้านประมาณ 2 เมตร ทำให้พื้นใช้สอยดูกว้าง เหมาะสำหรับการพักผ่อนในทุกช่วงเวลาอย่างสมส่วน

​ความสะอาดของพื้นสนาม

ขั้นตอนแรกของการทำมุมนอกชานหน้าบ้านหลังนี้ คือการทำความสะอาดบริเวณโดยรอบทั้งหมด โดยเริ่มจากการจัดการขยะต่างๆ หากพื้นเต็มไปด้วยหญ้ารกควรถางให้เรียบ เก็บหรือเคลียสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกจากพื้นที่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับช่างปูพื้น

ปรับพื้นดิน

ต่อมาหลังจากการทำความสะอาด คือ การปรับพื้นดินบริเวณโดยรอบของการปลูกสร้างมุมนอกชาน ด้วยการขุดและเกลี่ยพื้นที่ดังกล่าวให้เท่าเทียมหรือเสมอกัน ไม่ควรเว้นช่องว่างหรือหลุมบ่อในพื้นที่บางจุด เพราะถ้าหากโครงสร้างพื้นที่ไม่แข็งแรงจะยิ่งทำให้มุมนอกชานหน้าบ้านไม่ทนทาน มีอายุการใช้งานที่สั้นลง ฉะนั้นเราไม่ควรมองข้ามในปัจจัยนี้

​วางโครงสร้าง

ขั้นตอนต่อมาช่างปูพื้นได้เริ่มวางโครงสร้างของมุมดังกล่าวด้วยการนำเอาไม้มาตอกลงในพื้นดินที่เกลี่ยไว้ จัดวางและเรียงเป็นแนวนอนตามความยาวของพื้นนอกชานหน้าบ้าน โดยเว้นช่องไฟขนาดสมส่วนประมาณ 50 ซม.ต่อ 1 โครงสร้าง ซึ่งข้อดีของการวางโครงสร้างแบบนี้สามารถเสริมความแข็งแรงและปลอดภัยสำหรับการอยู่อาศัยได้เป็นอย่างดี

โครงสร้างไม้

สำหรับโครงสร้างนั้นใช้วัสดุก่อสร้างจากไม้ทั้งหมด โดยจุดเด่นของไม้นั้นสามารถเสริมความแข็งแรง ทนทาน และปลอดภัยสำหรับมุมนอกชานหน้าบ้าน ไม่เพียงเท่านั้นไม้ยังมีความยืดหยุ่นสูงรองรับการกระแทกและช่วยบรรเทาเหตุการณ์อันเกิดจากภัยธรรมชาติได้เป็นอย่างดี จึงเห็นได้บ่อยครั้งว่า โครงสร้างงานก่อสร้างส่วนใหญ่จะใช้ไม้มาเป็นส่วนประกอบหลัก

​เสริมด้วยคอนกรีต

หลังจากวางโครงสร้างของมุมนอกชานด้วยไม้เป็นที่เรียบร้อย ขั้นตอนต่อมาผู้เชี่ยวชาญได้เทคอนกรีตเสริมลงไปเพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง เป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกสบายต่อการปูพื้น โดยข้อควรระวังควรเกลียพื้นคอนกรีตให้เสมอกันเพราะไม่เช่นนั้นพื้นในบริเวณดังล่าวจะเกิดการนูนและไม่เรียบเนียน ไม่ได้มีผลเพียงแต่ความสวยงามแต่ยังส่งผลถึงความปลอดภัย สำหรับการอยู่อาศัย

​ตกแต่งขั้นบันไดให้สมส่วน

นอกจากพื้นที่ผู้อยู่อาศัย ระยะของขั้นบันไดก็มีส่วนสำคัญไม่แพ้กัน ฉะนั้นเราควรเว้นช่องก้าวของบันไดให้มีขนาดสมส่วนไม่แคบหรือกว้างจนเกินไป เพราะจะเป็นอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย นอกจากขนาดของขั้นบันไดแล้วนั้นพื้นผิวเป็นอีกปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรเกลี่ยพื้นให้เท่ากันและวางโครงสร้างแข็งแรง

​เสริมความแข็งแรงอีกขั้น

หลังจากการเทคอนกรีคเป็นที่เรียบร้อยก่อนการปูพื้นด้วยวัสดุจากไม้อีกชั้นนั้น ช่างปูพื้นได้วางโครงสร้างอีกระดับบนพื้นคอนกรีตโดยใช้ไม้เป็นหลักเช่นเคย โดยรูปแบบของการวางในส่วนนี้จัดทำในลักษณะแนวนอนไปกับตัวบ้าน สามารถเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างมุมนอกชานหน้าบ้านได้อีกระดับ

​เริ่มปูพื้นและแนวทางการจัดวาง

วัสดุปูพื้นจากไม้ถูกนำมาใช้ในการสร้างมุมนอกชานหน้าบ้านหลังนี้ โดยรูปแบบการปูนั้นจัดวางสวนกลับโครงสร้างดังกล่าวที่วางแบบแนวนอนด้วยแนวตั้งเพื่อให้พื้นดังกล่าวมีความเสมอกันและคงทนแข็งแรง ทั้งนี้รูปแบบการวางมีการเว้นไฟประมาณ 1-2 ซม.เพื่อให้ความร้อนจากพื้นดินได้ระบายขึ้น ซึ่งความร้อนดังกล่าวสามารถทำลายวัสดุปูพื้นได้เร็วขึ้น กลับกันในฤดูฝนช่องไฟดังกล่าวสามารถระบายน้ำได้เป็นอย่างดี ไม่ก่อให้เกิดน้ำขังและผุพังในที่สุด

​ตัดส่วนที่เหลือ

หลังจากการปูพื้นครบถ้วนเต็มพื้นที่ ส่วนที่ยาวและยืดออกไปจากโครงสร้าง ควรตัดให้เรียบร้อยด้วยการเลื้อยหรือใช้เครื่องเลื้อยไฟฟ้า  สำหรับเศษไม้ที่เหลือสามารถนำมาปิดช่องว่างของมุมนอกชานดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

​เก็บรายละเอียดให้สวยงาม

หลังจากตัดและเก็บช่องว่างของมุมดังกล่าว ช่างฝีมือได้เก็บรายละเอียดของงานด้วยการใช้กระดาษทรายขัดบริเวณพื้นและมุมต่างๆ เพื่อลดความคมและเสี้ยนไม้อันเป็นอันตรายต่อการอยู่อาศัย ข้อดีของการเก็บรายละเอียดงานปลูกสร้างนั้นทำให้มุมนอกชานหน้าบ้านสวยงามและน่าอยู่อาศัย

​พื้นไม้ให้ความสวยงาม

สำหรับไม้ที่ได้รับความนิยมในการนำมาปูพื้นนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นไม้เนื้อแข็งจำพวก ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ประดู่ หรือจะเป็นไม้เนื้ออ่อนอย่างเช่นไม้สัก ไม่เพียงเท่านั้นในปัจจุบันตลาดวัสดุก่อสร้างได้มีการทำไม้เทียมขึ้นมาทดแทน อาทิ ไม้ปาร์เก้ ลามิเนต ฉะนั้นคุณค่าของไม้ยกระดับมุมนอกชานหน้าบ้านให้สวยงาม

​รักษาเนื้อไม้

หลังจากการปูพื้นไม้มุมนอกชานหน้าบ้านเสร็จเป็นที่เรียบร้อย อีกขั้นตอนที่สำคัญคือการดูแลรักษาเนื้อไม้ด้วยการทาสีเคลือบเงาในทุกพื้นที่ เมื่อทาสีโทนสีของเนื้อไม้จะเข้มขึ้น ยกระดับพื้นให้สวยงามและน่าอยู่อาศัยมากขึ้น

​เติมสีสันด้วยพันธุ์ไม้จากธรรมชาติ

อีกหนึ่งแนวคิดสุดสร้างสรรค์ คือการเว้นช่องว่างรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมนอกชานไว้สำหรับปลูกต้นไม้ ซึ่งภายในได้นำเอาไม้ประดับสีสันสดใสมาตกแต่ง เพิ่มความสวยงามให้กับมุมพักผ่อน ที่สำคัญสามารถสร้างโอโซนที่บริสุทธิ์สำหรับการอยู่อาศัย

มุมนอกชานหน้าบ้านทางเลือกใหม่สำหรับการพักผ่อนบริเวณภายนอกของบ้านที่ผู้อยู่อาศัยสามารถซึมซับกับบรรยากาศจากธรรมชาติ  สามารถจัดกิจกรรมสันทนาการ หรือแม้กระทั่งการเพิ่มความสวยงามของบ้านให้ดูน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น

تريد مساعدة في إتمام مشروع بيتك؟
تواصل معنا الآن

يبرز من مجلتنا