วิธีปกป้องบ้านจากสภาพอากาศที่รุนแรง

Pattareeya Pattareeya
ÇATI TADİLATI, ÇATI TADİLATI ÇATI TADİLATI منازل
Loading admin actions …

ทางฝั่งประเทศที่มีฤดูกาลต่างกันอย่างชัดเจน มีหิมะตก ช่วงก่อนฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ค่อนข้างต้องดูแลบ้านกันหนักสักหน่อย เพื่อเตรียมบ้านให้พร้อมรับการทับถมของหิมะ ในบางประเทศก็ต้องเริ่มสำรวจกันตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าฤดูใบไม้ร่วงกันเลยทีเดียว เพราะในช่วงต่อระหว่างฤดูทั้งสองช่วงมักจะมีพายุฝน ลมแรง มาเยือนให้ต้องหวั่นใจก่อน ยิ่งถ้าเป็นฝั่งสหรัฐอเมริกา คำว่าเฮอร์ริเคนย่อมสร้างความหวาดหวั่นอยู่ไม่น้อย ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาบ้านเพื่อให้รับมือช่วงที่อากาศรุนแรงเช่นนี้ได้ หรืออย่างน้อยก็เพื่อให้เกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติน้อยที่สุดนั่นเอง

สำหรับในบ้านเรา ฤดูกาลอาจจะไม่หลากหลายเช่นนั้น แต่ก็มีพายุ มีลมพัดแรง และมีน้ำท่วมเกิดขึ้นบ่อยครั้ง (แถมยังบ่อยกว่าที่เคยเป็นมา) อย่างช่วงนี้แม้จะเริ่มมีอากาศหนาวมาเยือนแล้ว แต่ในหลายภูมิภาคก็ยังต้องระวังภัยจากพายุฝนและน้ำท่วมอยู่ ด้วยเหตุนี้ homify จึงอยากนำเกร็ดน่ารู้ในการเตรียมบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนหลังคาบ้าน ให้พร้อมรับมือกับอากาศที่รุนแรงนี้มาฝากกัน ทั้งจากฝนและลมแรง แม้บ้านเราอาจไม่โดนไปเต็มๆ แต่ถ้ามีการสำรวจโครงสร้าง เตรียมทำไว้ให้พร้อม เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงๆ ก็อาจช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ 

อากาศดีๆ อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไป อ่านแล้วก็ลองลงมือทำอะไรที่ทำได้ก่อนน่าจะดีกว่า


หลังคาบ้านน่าจะเป็นส่วนหลักที่ต้องรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงก่อนใครเพื่อน เวลาเราสร้างบ้าน เรามักต้องเตรียมส่วนหลังคาให้พร้อมรับทุกสภาพอากาศ หลังคาบ้านรูปทรงไหนมีผลต่อการรับมือสภาพอากาศอย่างไร หรือแม้แต่ในหน้าร้อนที่ท้องฟ้าสดใส ก็ต้องทำหลังคาให้ช่วยระบายความร้อน แล้วจะประสาอะไรกับหน้าพายุที่มีฝนและลมรุนแรง 

ทั้งนี้หลังคาบ้านที่แข็งแรง ไร้รอยรั่ว ย่อมช่วยป้องกันให้ภายในบ้านปลอดภัยไปได้เปราะหนึ่ง

1. เริ่มดูแลรักษาตั้งแต่ขั้นการขจัดสิ่งสกปรกบนหลังคา

ทิปสำคัญที่หลายคนอาจเผลอลืม คือการดูแลรักษาหลังคาบ้านของเราให้มีประสิทธิภาพดีอยู่เสมอ ไม่ใช่แค่ความมั่นคงแข็งแรง แต่ยังหมายถึงเรื่องความสะอาดด้วย 

การมีคราบสกปรก มีเศษใบไม้หรือขยะติดอยู่บนหลังคาสามารถส่งผลเสียเรื่องการระบายน้ำจากหลังคาได้ เมื่อน้ำไม่ระบาย หลังคาต้องรับน้ำหนักน้ำปริมาณมากกว่าที่จำเป็น หลังคาที่มีอายุมากๆ ก็อาจเกิดชำรุดหรือพังครืนลงได้ หรือหากหลังคาบ้านเรามีท่อระบายน้ำต่อมาจากหลังคา ส่วนนี้ก็ยิ่งต้องดูแลรักษา ทำความสะอาดให้ทั่วถึง รวมถึงซ่อมแซมหากมีส่วนแตกหักหรือเกิดสนิม หากมีปริมาณน้ำฝนตกมากกว่าปกติเราก็จะได้คลายกังวลเรื่องการระบายน้ำจากหลังคาได้

2. สำรวจความแข็งแรงของหลังคาบ้านรวมถึงตัวบ้าน

เริ่มต้นจากการสังเกตด้วยตาตัวเองก่อนก็ได้ ว่ามีส่วนไหนของหลังคาที่ดูเสื่อมโทรม ผุพังหรือไม่ จากนั้นหากมีจุดที่สงสัยก็อาจให้ผู้เชี่ยวชาญมาช่วยตรวจสอบให้มั่นใจ ทั้งนี้การตรวจความมั่นคงแข็งแรงของหลังคา เรายังหมายรวมไปถึงโครงสร้างภายในหลังคา ห้องใต้หลังคา ฝ้าเพดานหรือแม้แต่การเช็คเรื่องความชื้น รอยรั่วต่างๆ ใช้หลังคาอีกด้วย หากมีปัญหาก็ไม่ควรจัดการเอง แต่ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญอย่างช่างมุงหลังคามาแก้ไขให้ ขอให้จำไว้ว่าแม้เป็นแค่จุดเล็กๆ แต่ก็สามารถส่งผล สร้างความเสียหายให้บ้านทั้งหลังได้เช่นกัน

3. ตัดแต่งกิ่งต้นไม้บ้าง

ต้นไม้ใหญ่เป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถสร้างความเสียหายให้บ้านได้ในขณะที่เกิดพายุ โดยเฉพาะต้นไม้ที่มีกิ่งก้านเกี่ยวพันกับสายไฟ หรืออยู่ใกล้บ้านแบบมีระยะล้มมาทับตัวบ้านได้ 

ด้วยเหตุนี้เราจึงควรตกแต่งกิ่งต้นไม้ให้ดูเรียบร้อย ปลอดภัยอยู่เสมอ สำรวจดูให้มั่นใจว่ารากของต้นไม้นั้นแข็งแรงดี และไม่สูงจนเกินไป ส่วนบ้านไหนที่มีเครื่องประดับตกแต่งสวนอยู่ด้วย เช่น เสาสูง เก้าอี้สนาม โต๊ะพลาสติก ก็ควรเช็คให้แน่ใจเช่นกันว่าของเหล่านี้จะไม่โดนลมพัดไปสร้างความเสียหายกับส่วนไหนของบ้าน (หรือบ้านข้างเคียง) หากไม่แน่ใจ ช่วงที่จะมีพายุก็อาจยกของแต่งสวนที่มีน้ำหนักเบาเหล่านี้ไปเก็บไว้ในพื้นที่ปลอดภัยก็ได้ จะได้ไม่เกิดความเสียหายทั้งในแง่ของสูญหาย และในกรณีที่ลมจะพัดของเหล่านี้ไปสร้างความเสียหายให้ส่วนอื่นของบ้านต่อไป 

(แม้ไม่ใช่ช่วงพายุ เราก็สามารถดูแลรักษาสวนของเราให้สวยอยู่เสมอได้ สนใจดูเพิ่มเติมที่ 7 เคล็ดลับจัดแต่งสวนสวยด้วยมือคุณ)

4. ตรวจเช็คหลังคาและสภาพแผ่นกระเบื้อง

กลับมาที่เรื่องหลังคาบ้านกันอีกครั้ง เราพูดถึงของในสวนหรือสนามหญ้าที่อาจถูกลมแรงพัดปลิว จึงนึกขึ้นได้ถึงกรณีกระเบื้องหลังคา/แผ่นหลังคาสังกะสี ที่อาจถูกพัดปลิวเช่นกัน หากแผ่นมุงหลังคาเหล่านั้นถูกติดตั้งไว้อย่างหลวมหรือตัวยึดเกาะชำรุด ต่อให้ไม่ใช่ลมแรงแบบเฮอร์ริเคน ก็อาจพัดแผ่นหลังคากระเด็นได้เช่นกัน 

เพื่อป้องกันความเสียหายจากกรณีเหล่านี้ เราจึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คสภาพหลังคาให้ดี อย่างน้อยป้องกันไว้ก็ยังง่ายกว่ามาตามซ่อมในตอนที่เกิดความเสียหายไปแล้ว

5. ทำให้มั่นใจว่าหลังคาบ้านจะปลอดภัยดี

อีกวิธีที่จะทำให้มั่นใจว่าพายุจะไม่หอบกระเบื้องหลังคาของเราไป คือการทำโครงสร้างยึดเกาะหลังคาที่มั่นคงกว่าปกติ ทั้งนี้อาจเลือกปรึกษาช่างมุงหลังคาที่คุ้นเคยหรือปรึกษาทีมงานออกแบบบ้านตั้งแต่เริ่มคิดสร้างบ้าน ทั้งนี้รูปแบบบ้านหลังคาทรงปั้นหยาหรือทรงจั่วที่เป็นหลังคาลาดเอียง หลังคาแบนราบเช่นที่นิยมในบ้านสไตล์โมเดิร์น ล้วนย่อมมีขั้นตอนการทำงานที่แตกต่างกัน การให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเข้าใจในหลังคาเหล่านั้นลงมือทำ ย่อมสร้างความมั่นใจให้เราได้มากกว่าแน่นอน

تريد مساعدة في إتمام مشروع بيتك؟
تواصل معنا الآن

يبرز من مجلتنا